วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เซลล์พืช

ส่วนประกอบของเซลล์พืช มีดังนี้..ล่ะเจ้าค่ะ(หนูเป็นพวกวิชาการ)..อะแฮ่ม!
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้              

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ (Semipermeable Membrane)
3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
               3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียว
เพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
             
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสาร
พวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
               นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบของนิวเคลียส มีดังนี้
               4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA  TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน
ยืดยาวไปนิดนะคะ..ในหัวมีแค่นี้ล่ะ..
       ผนังเซลล์คืออะไร
เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืช มีบทบาทในการยึดเซลล์เข้าด้วยกันให้เป็นเนื้อเยื่อ โครงสร้างประกอบด้วยโมเลกุลของเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของผนังเซลล์มีลักษณะเป็นสาย เรียงตัวตามยาวเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มเรียกไมเซล (Micelle) ซึ่งประกอบด้วยเซลลูโลส 100 โมเลกุล ไมเซลแต่ละกลุ่มมาเรียงตัวกันแบบหลวมๆ เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย ภายในช่องระหว่างสายของไมเซลมีสารกลุ่มลิกนิน คิวติน ซูเบอริน และเพกตินแทรกอยู่ จากนั้นไมเซลแต่ละกลุ่มรวมตัวกันเป็นไมโครไฟบริลซึ่งมีเซลลูโลสราว 2,000 โมเลกุล ไมโครไฟบริลมารวมตัวกันเป็นแมกโครไฟบริล ซึ่งมีเซลลูโลส ประมาณ 500,000 โมเลกุลช่องว่างระหว่างเส้นใยเหล่านี้มีสารที่ไม่ใช่เซลลูโลสแทรกอยู่

การเรียงตัวของไมโครไฟบริลในผนังเซลล์ชั้นแรกและชั้นที่สองจะต่างกันผนังเซลล์ชั้นแรกสร้างขึ้นระหว่างที่เซลล์กำลังเจริญเติบโต เส้นใยที่สร้างครั้งแรกจะเรียงไขว้กัน เมื่อเซลล์ขยายขนาด ไมโครไฟบริลเดิมถูกดึงตัวไปในแนวต่างๆกัน และมีการสร้างไมโครไฟบริลใหม่ๆตลอดเวลา เมื่อเจริญเต็มที่ ไมโครไฟบริลที่สร้างก่อนมักจะเรียงตัวขนานตามแนวแกนตามยาวของเซลล์ ส่วนไมโครไฟบริลที่สร้างขึ้นภายหลังเรียงตัวในแนวขวางเป็นวงรอบเซลล์ และอยู่ชิดกับเยื่อหุ้มเซลล์มากกว่า ส่วนผนังเซลล์ชั้นที่สองนั้น สร้างขึ้นหลังจากเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว การเรียงตัวจึงเป็นระเบียบกว่าผนังเซลล์ชั้นแรก

ผนังเซลล์ของพืชไม่ได้เป็นส่วนที่ทึบตันตลอด แต่จะมีช่องให้เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกันสามารถส่งสารเคมีระหว่างกันได้และยอมให้น้ำและสารอาหารผ่านได้ โดยผ่านบริเวณที่มีผนังบางหรือเป็นรูเรียกพิท (Pit) ซึ่งมีช่องเล็กๆให้ไซโตพลาสซึมผ่านได้ เรียกพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)

  • ชั้นมิดเดิล ลาเมลลา (Middle lamella) ประกอบด้วยเพกตินที่อยู่ในรูปแคลเซียม เพกเตต และแมกนีเซียม เพกเตต อยู่ตรงกลางระหว่างผนังเซลล์ชั้นแรกของเซลล์ 2 เซลล์ มีขนาดบางมากและมองไม่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ทั่วไป
  • ผนังเซลล์ชั้นแรก (Primary cell wall) เป็นผนังเซลล์ชั้นแรกที่เซลล์สร้างขึ้น ตั้งแต่ระยะที่กำลังเติบโตจนถึงโตเต็มที่ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส เพกติน เซลล์พืชที่มีเฉพาะผนังเซลล์ชั้นนี้ เช่น เซลล์พาเรนไคมา
  • ผนังเซลล์ชั้นที่ 2 (Secondary cell wall) เป็นผนังชั้นในสุด สร้างขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดขยายตัว ประกอบด้วยเซลลูโลส ซูเบอริน (Suberin) คิวติน (Cutin) มีความหนาและแข็งแรงกว่าผนังเซลล์ชั้นแรก การที่มีลิกนินและซูเบอรินเป็นส่วนประกอบ ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านผนังเซลล์ชั้นนี้ได้ เซลล์ที่สร้างผนังเซลล์ชั้นนี้สมบูรณ์แล้วมักจะตาย ตัวอย่างเซลล์ที่มีผนังเซลล์ชั้นนี้คือ ไฟเบอร์ (Fiber)เทรคีด (Tracheid) และสเคลอเรนไคมา


ไลโซโซม (lysosome) พบครั้งแรกโดย คริสเตียน เดอ ดูฟ (Christain de Duve) เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน คล้ายถุงลม รูปร่างกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และเซลล์พืชบางชนิด(เช่น หัวหอม ต้นกล้าข้าวโพด ต้นกล้ายาสูบ หรือพืชที่กินแมลงเป็นอาหาร) มักพบใกล้กับกอลจิบอดี ไลโซโซม ยังเป็นส่วนสำคัญ ในการย่อยสลาย องค์ประกอบของเซลล์ หลังจากเซลล์ตาย โดยพบมาก ในฟาโกไซทิกเซลล์ (phagocytic cell) เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์นระบบเรติคูโล เอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) เช่น ตับ ม้าม นอกจากนี้ ยังพบไลโซโซม จำนวนมาก ในเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการสลายตัวเอง เช่น เซลล์ส่วนหาง ของลูกอ๊อด เป็นต้น ไลโซโซม มีเอนไซม์หลายชนิด จึงสามารถย่อยสลาย สารต่างๆ ภายในเซลล์ได้ดี

ไลโซโซม เป็นออร์แกแนลล์ ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม เพียงชั้นเดียว ซึ่งไม่ยอมให้เอนไซม์ต่างๆ ผ่านออก แต่เป็นเยื่อที่สลายตัว หรือรั่วได้ง่าย เมื่อเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ หรือขณะที่มีการเจริญเติบโต เยื่อหุ้มนี้มีความทนทาน ต่อปฏิกิริยาการย่อยของเอนไซม์ ที่อยู่ภายในได้ เอนไซม์ที่อยู่ในถุงของไลโซโซมนี้ เชื่อกันว่าเกิดจากไลโซโซม ที่อยู่บน RER สร้างเอนไซม์ขึ้น แล้วส่งผ่านไปยังกอลจิบอดี แล้วหลุดเป็นถุงออกมา


ไลโซโซม มีหน้าที่สำคัญ คือ

  • ย่อยสลายอนุภาค และโมเลกุลของสารอาหาร ภายในเซลล์
  • ย่อย หรือทำลายเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวกิน และย่อยสลายเซลล์แบคทีเรีย
  • ทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว หรือเซลล์ที่มีอายุมาก โดยเยื่อของไลโซโซม จะฉีกขาดได้ง่าย แล้วปล่อยเอนไซม์ออกมา ย่อยสลายเซลล์ดังกล่าว
  • ย่อยสลายโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์ ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง และมีเมตามอร์โฟซีส (metamorphosis) เช่น ในเซลล์ส่วนหางของลูกอ๊อด

  • คลอโรพลาสต์ (อังกฤษChloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella)

    คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติกมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติกไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่

    ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้

    ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด
    ไซโทพลาซึม เป็นส่วนหนึ่งของโพรโทพลาสซึม ที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียส ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตภายในเซลล์ เป็นของเหลว ซึ่งภายในมีหลายอย่างที่สำคัญเช่น คลอโรพลาสต์ ในคลอโรพลาสมีคลอโรฟิลล์เอาไว้สังเคราะห์แสง มีออแกเนล ซึ่งทำให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เยื่อหุ้มเซลล์ (อังกฤษplasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้

เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis)

นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน

กอลจิบอดี มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม กับซิสเทอร์น่า ทำให้ขนาด ของซิสเทอร์น่า แต่ละอันเพิ่มขึ้น และในบริเวณช่องว่าง ของซิสเทอร์น่า จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างของสารใหม่ต่างๆ ที่กอลจิบอดี ดูดซึมเอาไว้ให้เป็นสารอื่นได้ ที่ด้านตรงกันข้าม ของกอลจิบอดีเป็นด้านที่มีการปลดปล่อยสาร ส่วนเวสิเคิลอื่น ซึ่งมีสารใหม่ต่างๆ อยู่จะถูกขับออกมา บางส่วนของเวสิเคิล เหล่านี้จะรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ ที่อยู่ติดกับผนังเซลล์ ทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว ของเยื่อหุ้มเซลล์ ในเวสิเคลแต่ละอันนั้น จะมีสารประกอบ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสนับสนุน การเจริญเติบโต ของผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์

เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นถุงและท่อ เรียกว่า ซีสเทอร์นี เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมมีโครงสร้างเป็ฯระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์เยื่อหุ้มของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสภายในท่อมีของเหลวอยูด้วยเรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัม  เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนสำหรับการเจริญหรือเป็นเอนไซม์สำหรับกระบวนการเมทาบอลิซึม(metabolism) 

ชนิดของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมภายในเซลล์มี 2 ชนิด คือ 1.เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ เป็น ER ที่เชื่อมต่ออยู่กับเยื่อหุ้มนิวเคลียสซึ่งผนังทางด้านนอกมีไรโบโซม มาเกาะอยู่จึงมีลักษณะขรุขระ

หน้าที่ของ เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ(RER)

  • ลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของเซลล์ เช่น สารพวกไขมัน,โปรตีน
  • สังเคราะโปรตีน เพราะที่ผิวด้านนอกของ RER มีไรโบโซมหน่วยใหญ่
    มาเกาะอยู่เมื่อมีการสังเคราะโปรตีนขึ้น โปรตีนที่ได้จะเคลื่อนที่ผ่าน
    รูของหน่วยใหญ่ของไรโบโซมและผ่านเมมเบรนเข้าสู่ซีสเตอร์นี
  • สังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์

2. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER)เป็น ER ที่ผิวด้านนอกของเยื่อหุ้มไม่มีไรโบโซมมาเกาะจึงมีลักษณะเรียบ SER มีลักษณะเป็นท่อหรือกระเปาะซึ่งท่อนี้จะเชื่อมต่อกับซีสเตอร์นีของ RER และเยื่อหุ้มนิวเคลียส 

หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER)

  • กำจัดสารพิษ เช่น การทำงานของเซลล์ตับ
  • กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ โดย SER ในกล้ามเนื้อจะทำหน้าที่สะสมแคลเซยมไอออน
  • เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายไกลโคเจน
  • สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน
  • สะสมสารต่างๆ
  • ลำเลียงสารไปสู่ส่วนต่างๆ ของเซลล์
ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (อังกฤษmitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix)

ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNA[1]

มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป

ในเซลล์มนุษย์ DNAภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้น

แวคิวโอล (อังกฤษVacuole) เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

  1. Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
  2. Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
  3. Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์
  4. Gas vacuole สำหรับสะสมแก๊สต่าง
 นิวเคลียส (Nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในบรรจุสารพันธุกรรมไว้ มักพบอยู่บริเวณกลางเซลล์ และพบได้ในเซลล์ของพวกยูคาริโอต ซึ่งภายในนิวเคลียส(Nucleus)จะมีดีเอ็นเอ (DNA) กับโปรตีนหลายชนิดที่เกาะตัวอยู่กับดีเอ็นเอ (DNA) เช่น ฮิสโตน (Histone) [โดยในดีเอ็นเอ(DNA)ก็จะมียีน(Gene)ต่างๆ] โดยขดตัวกันเป็นโครโมโซม(Chromosome)



     นิวเคลียส (Nucleus) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง

     นิวเคลียส (Nucleus)มีหน้าที่ คือ การรักษาเสถียรภาพของยีน(Gene)ต่างๆและทำการควบคุมการทำงานต่างๆของเซลล์โดยผ่านการแสดงออกของยีน(Gene Expression)

     นิวเคลียส (Nucleus)จะสามารถเห็นได้เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ เมื่อนิวเคลียส(Nucleus)ถูกย้อมด้วยสี นิวเคลียส(Nucleus)จะติดสีเข้มทึบ จนสามารถสังเกตได้ชัดเจน โดยปกติทั่วไปแล้วเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีนิวเคลียส(Nucleus)เพียง 1นิวเคลียส(Nucleus)

     นิวเคลียส (Nucleus) จะแยกพวกสารพันธุกรรมออกจากไซโตพลาซึม(Cytoplasm)โดยมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Envelope)ที่เป็นเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อหุ้มนิวเคลียส(Nuclear Envelope)จะมีนิวเคลียร์พอร์ (Nuclear Pore) หรือ ช่องที่จะทำให้สารสามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มนิวเคลียส(Nuclear Envelope)ได้ นิวเคลียร์พอร์ (Nuclear Pore)เหล่านี้จะทะลุผ่านเยื่อหุ้มนิวเคลียส(Nuclear Envelope)ทั้ง 2 ชั้น ทำให้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กและไอออนสามารถเคลื่อนที่เข้าและออกนิวเคลียส(Nucleus)ได้ ในการเคลื่อนที่เข้าและออกของพวกสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ อย่างเช่น โปรตีน ที่ต้องมีการทำการควบคุมโดยต้องใช้โปรตีนช่วยในการขนส่งสาร (Carrier Proteins) นอกจากนี้นิวเคลียส(Nucleus)ยังมีโครงสร้างที่เรียกว่านิวเคลียร์ลามินา (Nuclear Lamina) ที่เป็นโครงสร้างมีลักษณะเป็นร่างแหภายในนิวเคลียส(Nucleus)โดยทำหน้าที่เป็นโครงร่างคอยค้ำจุนให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส(Nucleus)ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น